‘บอริส เมเยอร์ เลวินสัน’ ผู้บุกเบิกการใช้สัตว์ฮีลใจ มีที่มาจากน้องหมาแสนรู้

Aug 13, 2024 at 8:32 AM
Slide 2
Slide 1
Slide 2
Slide 1

สัตว์เลี้ยงเป็นผู้ช่วยบำบัดที่ไม่ควรมองข้าม

การมีสัตว์เลี้ยงที่เป็นมิตรและได้รับการฝึกฝนเข้ามาอยู่ในห้องด้วย สามารถช่วยละลายพฤติกรรมและทำให้บรรยากาศโดยรวมสบายขึ้น ช่วยลดระดับกำแพงในใจของเด็กลง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เด็กคนนั้นต้องไม่กลัวหรือมีความทรงจำเลวร้ายกับสัตว์เลี้ยง มิเช่นนั้นผลลัพธ์อาจตรงกันข้าม

สัตว์เลี้ยงคือผู้ช่วยบำบัดที่ไม่ควรมองข้าม

แนวคิดที่ถูกมองข้ามในอดีต

ในปี 1961 เลวินสันได้นำเสนอแนวคิดการใช้สัตว์มาเป็นผู้ช่วยบำบัด หรือ 'Animal-Assisted Therapy' (AAT) ต่อสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association: APA) แต่ในขณะนั้น ทฤษฎีดังกล่าวกลับถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เพื่อนร่วมงานบางคนล้อเลียนเขาว่า "เมื่อได้ค่ารักษามาแล้วต้องหารกับสุนัขด้วยหรือเปล่า" บ้างก็หัวเราะเยาะให้กับแนวคิดนี้ ทว่าเลวินสันไม่ได้หวั่นไหว เขายังคงมุ่งมั่นทำสิ่งที่เชื่อต่อไป และตีพิมพ์บทความหลายต่อหลายครั้ง เพื่อแนะนำวิธีการใช้สัตว์ในบริบทของการบำบัด และเผยแพร่ผลลัพธ์เชิงบวกต่อการเข้าสังคมและอารมณ์ของผู้ป่วยจากการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยง

การยอมรับแนวคิดในปัจจุบัน

10 ปีต่อมา นับตั้งแต่เขาเสนอแนวคิดดังกล่าวเป็นครั้งแรก มีข้อมูลที่พบว่านักจิตวิทยา 16% จาก 319 คน ใช้สัตว์เลี้ยงในการบำบัด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับแนวคิด AAT มากขึ้น จึงเรียกได้ว่าผลงานของเขาช่วยปูทางให้เกิดการวิจัยและศึกษาเพิ่มเติมหลายชิ้น ปัจจุบัน เราจะเห็นว่ามีทั้งองค์กร หน่วยงาน โปรแกรมการบำบัดหลายแห่งที่ฝึกฝนสัตว์ เพื่อเป็นผู้ช่วยดูแลสุขภาพจิตของผู้คน โดยสัตว์ที่ได้รับความนิยม ส่วนมากคือสุนัขและม้า

ประโยชน์ของการใช้สัตว์เลี้ยงในการบำบัด

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ผู้ที่ผูกพันกับสัตว์จะมีความรู้สึกนับถือตนเอง (self-esteem) เพิ่มขึ้นและมีระดับภาวะซึมเศร้าที่ลดลง เนื่องจากสัตว์ช่วยเป็นที่พักพิงทางใจและสร้างความสบายใจให้ผู้คนได้ อีกทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน เช่น ออกซิโทซิน เซโรโทนิน และโพรแลกติน ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและตอบสนองต่อความเครียดในทิศทางที่ดีขึ้น อาการซึมเศร้าและวิตกกังวลจึงมีโอกาสลดลงไปด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่าการมีสัตว์เลี้ยงช่วยเพิ่มโอกาสให้คน ๆ นั้นมีความเห็นอกเห็นใจตนเองและเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้นจากการดูแล รับผิดชอบและความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงของตนเอง

ความท้าทายและข้อถกเถียงในการใช้สัตว์เลี้ยงในการบำบัด

ขณะเดียวกันก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้มากขึ้นทุกวัน โดยมีทั้งฝั่งที่สนับสนุนทฤษฎีของเลวินสัน และฝั่งที่ออกมาวิเคราะห์ให้เห็นช่องว่างของงานวิจัยบางชิ้น ที่ไม่สามารถสรุปได้ว่าผลลัพธ์ที่ดีนั้นเกิดจากการใช้สัตว์บำบัดโดยตรง อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตของเลวินสัน ก็ช่วยจุดประกายให้ผู้คนเริ่มหันมาศึกษาทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อดูแลสุขภาพใจของตนเองมากขึ้น และหันมามองสัตว์เลี้ยงว่าเป็นมากกว่าสัตว์เลี้ยง เพราะมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้โลกของมนุษย์สักคน (หรืออีกหลายคน) สดใสและน่าอยู่กว่าที่เคยเป็นมา