เล่าเรื่องเมืองอัศวิน เงาะ-รจนา

Nov 20, 2024 at 7:52 AM
“” เป็นการแสดงที่มีความหลากหลาย. มันไม่เพียงแค่การกระตุ้นเตือนให้เกิดการตื่นรู้ทางปัญญา แต่ยังเป็นการพาคนดูนั่งไทม์แมทชีนย้อนเวลาไปสัมผัสกับจิตวิญญาณรากเหง้าและความงดงามในคืนวันอันเก่าก่อนของสังคมไทย. พร้อมทั้งผสมสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้อย่างกลมกลืน.

สร้างสรรค์ความงดงามในยุคสมัยด้วย “”

ประวัติศาสตร์ของอัศวินภาพยนตร์

เมื่ออัศวินภาพยนตร์ถูกก่อตั้งในปี พ.ศ. 2480 โดยในชื่อ “ไทยฟิล์ม” ก่อนจะเปลี่ยนเป็น “อัศวินภาพยนตร์” ในปี พ.ศ. 2491. ผลิตผลงานภาพยนตร์ที่มีคุณค่าหลายเรื่อง เช่น “พันท้ายนรสิงห์” ที่ได้รับการยกย่องและคัดเลือกเป็นมรดกภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2558 และ “เรือนแพ” หนังไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วยระบบฟิล์ม 35 มม. ซูเปอร์ซีเนสโคป และได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2555.

การแสดง “”

การแสดงชุดนี้จัดแสดงเมื่อวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา. วันละหนึ่งรอบ คือ รอบ 19.00 น. มีผู้สนใจเข้าร่วมรับชมหนาตา. เมื่อเดินผ่านประตูเข้าไปในชั้นแรก จะมีทีมงานนักแสดงมาต้อนรับ. และเมื่อขึ้นไปยังชั้น 3 ของอาคาร จะมีการเปิดฉายหนังเรื่อง “ละครเร่”.ในการแสดงชุดนี้ นักแสดงนำเอาการแสดงรำไทยในหนัง “ละครเร่” มาใช้ 2 เรื่อง คือเรื่อง “เงาะ-รจนา” และ “รำซัดชาตรี”. แต่พัฒนาท่วงท่าขึ้นมาใหม่เป็นแบบเฉพาะตัวของพิเชษฐ กลั่นชื่น ซึ่งใช้เวลาถอดรหัสท่ารำแบบไทยดั้งเดิม 59 ท่า เป็นเวลากว่า 15 ปี จนพบหลักการที่สามารถนำมาสร้างสรรค์กระบวนท่าใหม่ที่ชื่อ no.60 เร่แสดงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก.ตอน “จับนาง” ในการแสดงนี้มีความสนุกที่สุด. มีเจ้าหนุมาน 2 ตัว 2 นักแสดง. หนึ่งคือหนุมานที่รำตามขนบและทำได้ดีมาก โดยเฉพาะจังหวะการสับเท้าที่เป๊ะและสวยงาม. ส่วนอีกตัวหนึ่งดูเหมือนจะเน้นเต้นรำแบบสมัยใหม่.และการแสดงตอนนี้เหมือนจะสื่อสารถึง Key Message อันว่าด้วยเรื่องของการมองความงามได้อย่างทันยุคทันสมัย. เช่นในขณะที่รักษาแก่นสารของเรื่องราวรจนาที่มองทะลุรูปลักษณ์อันอัปลักษณ์ของเจ้าเงาะจนทะลุเข้าไปถึงตัวตนและความงามอันแท้จริงในสถานภาพ “พระสังข์”.ด้วยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประกอบการแสดง เช่นถ่ายภาพนักแสดงที่กำลังแสดงอยู่แล้วนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์และใช้โปแกรมในการ Generate ภาพ ฉายขึ้นที่ฉากหลังอย่างเรียลไทม์.ในส่วนเพลงประกอบก็มีกลิ่นอายความวินเทจย้อนยุค. เช่นเพลงไทยลูกกรุงให้ฟังอยู่หลายเพลงควบคู่ไปกับชมการเต้นรำของนักแสดง.บทเพลง “ละครชีวิต” สะท้อนให้เห็นในเชิงอุปมาว่าโลกนี้เปรียบเสมือนละครโรงใหญ่ มีชีวิตที่แตกต่างหลากหลายโลดเล่นอยู่ภายในโรงละครแห่งนี้ แต่ละคนต่างก็แสดงบทบาทไปตามหน้าที่ของตัวเอง.ทั้งนี้ การได้รับชมการแสดงชุดนี้นับเป็นความรื่นรมย์หรรษาในช่วงเวลาความยาวที่พอเหมาะพอดี คือหนึ่งชั่วโมงโดยประมาณ. หลังจากการแสดงชุดนี้ออกสู่สายตาผู้ชม ก็ปรากฏว่า กระแสตอบรับเป็นไปในทางบวก.